รู้ไหมว่าการศึกษาเรื่องมดนั้นภาษาอังกฤษเรียกว่า Myrmecology?
มดเป็นสัตว์ที่กินเกือบทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอาหารได้
แต่จะอะไรที่มีรสหวานมากกว่าอย่างอื่น มดดัลมาที (Dalmatie) จะปรุงอาหารของมันโดยเคี้ยวให้เป็นชิ้นเล็กๆ
แล้วนำไปอบด้วยแสงอาทิตย์
มดสามารถแบกน้ำหนักได้ 5 ถึง 20 เท่าของน้ำหนักตัวเอง และเมื่อจะขนของที่มีน้ำหนักมากๆ พวกมันจะออกแรงขนกันเป็นกลุ่มเล็กๆ หรืออาจจะกลุ่มใหญ่
มีผู้คนพบอาณาจักรมดที่ใหญ่ที่สุดที่ชายฝั่งอิชิคาริของเกาะฮ็อกไกโด มดฝูงนี้มีมดอยู่ทั้งสิ้น 306 ล้านตัวและมีราชินีมดจำนวน1 ล้านตัว ทั้งหมดอาศัยอยู่ในรัง 45,000 รังที่เชื่อมต่อกัน ครอบคลุมพื้นที่ถึง 2.7 ตารางกิโลเมตร (1.7 ตารางไมล์)
ในจำนวนมดทั้งสิ้น 4,500 ชนิดส่วนใหญ่มักจะเป็นมดที่จะดุร้าย ยกเว้นมดพันธุ์ Messor Aciculatus ซึ่งไม่ค่อยจะต่อสู้กับใคร ส่วนมดพันธุ์Formica yessensis จะสู้กับแมลงชนิดอื่นแต่ไม่สู้กับมดพันธุ์เดียวกันแม้จะเป็นมดจากคนละรังกันก็ตาม
การศึกษาเรื่องมดเรียกว่า Myrmecology หรือวิชากีฎวิทยาที่ว่าด้วยมด ใน หนังสือเล่มใหม่ที่รวบรวมข้อมูลมาจากการวิจัยร่วมสองทศวรรษซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญโดยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ยืนยันว่าราชินีมดไม่มีหน้าที่อะไรทั้งสิ้น นั่นก็คือ ไม่มีผู้นำในอาณาจักรมด
เมื่อมดพบอาหาร มันจะทิ้งร่องรอยไว้เป็นสารเคมีที่เรียกว่าฟีโรโมน (pheromone) เพื่อให้มดตัวอื่นๆ สามารถจะได้ออกจากรังมายังแหล่งที่พบอาหารได้ถูก